วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


เต่าญี่ปุ่น



ชื่อสามัญ เต่าแก้มแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Red-eared Slider

ถิ่นกำเนิดจากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ สหรัฐอเมริกา(หาได้มาจากประเทศญี่ปุ่นแต่อย่างใด)

อายุ เท่าที่มีการจดบันทึก มีอายุถึง ๓๐ ปีแต่ก่อนประเทศญี่ปุ่นนำเข้าเต่าชนิดนี้จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อมาขายเป็นสัตว์เลี้ยงในประเทศตน และมีการขายต่อกันมาเป็นทอด ๆ กระจายกันไปทั่วทวีปเอเชีย จึงเข้ามาสู่บ้านเราได้ด้วยประการนี้ แต่ละปีทั่วโลกจะซื้อหาเต่าแก้มแดงเพื่อการเป็นสัตว์เลี้ยงมากมายหลายล้านตัว โดยฟาร์มที่เพาะพันธุ์ขนาดใหญ่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนในประเทศไทยก็สามารถเพาะพันธุ์ได้เช่นกัน แต่ปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด จึงต้องนำเข้าเป็นส่วนใหญ่เต่าแก้มแดง เป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก เราจึงเรียกว่า เต่าน้ำทั้งมีสรีระร่างกายที่เอื้อประโยชน์ต่อการมีชีวิตอยู่ในน้ำอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพังผืดเชื่อมระหว่างนิ้วเท้า เพื่อช่วยในการว่ายน้ำหนังตาใส ๆ ไว้ปิดตาเมื่อดำน้ำคล้ายหน้ากากกันน้ำ เป็นต้น ตอนเล็กๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณเท่าลูกปิงปองเลือกซื้ออาหารเฉพาะสำหรับเต่าน้ำ ( Aquatic turtle) อย่าลืมนะครับว่า คุณภาพอาหารและราคานั้นไปในทิศทางเดียวกัน และถ้าจะให้ดี เลือกอาหารที่มีฉลากแปะข้างขวด เป็นภาษาที่ท่านสามารถอ่านได้นะครับ เพราะเราจะเข้าใจส่วนประกอบของสารอาหารและทราบวันหมดอายุอีกด้วย เสริมเรื่องอาหาร จากที่ได้ศึกษาในเว็บบอร์ดแห่งนี้ ควรเสริมด้วยอาหารจำพวกเนื้อเพิ่มและผักเข้าไปด้วยครับนอกจากอาหารเม็ด เช่น กุ้งฝอย อาหารปลาดุก ... และอื่นๆ การเตรียมสถานที่เลี้ยง เราทราบแล้วว่าเขาเป็นเต่าน้ำมาจากแม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ก็ควรจะเลี้ยงในสภาพกึ่งธรรมชาติ เพราะเต่าต้องการพื้นที่ว่ายน้ำ , พื้นที่สำหรับขึ้นมากินอาหารบวกกับการพักผ่อนบนบก และพื้นที่สำหรับการขึ้นมาตากแดดเพื่อสุขภาพที่ดี กระผมขอแนะนำให้ใช้ตู้เลี้ยงปลาหรือบ่อธรรมชาติกลางแจ้ง ที่มีพื้นที่แห้งและบ่อน้ำขนาดเล็ก แต่ต้องเพียงพอรองรับการเติบโตในอนาตคได้ด้วย เพราะเต่าแก้มแดงเมื่อโตเต็มที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระดองไม่ต่ำกว่า ๓๐ เซนติเมตรหรือ ๑ ฟุตทีเดียว ส่วนความสูงของขอบบ่อหรือตู้ปลาก็ไม่ควรจะต่ำกว่า ๓๐ เซนติเมตร เพราะเต่าแก้มแดงปีนเก่งมากแยกเพศด้วยการสังเกตตาเปล่ามีจุดให้สังเกตดังนี้ จุดแรก เล็บที่ขาหน้า เต่าตัวผู้จะมีเล็บยาวมากกว่าในตัวเมีย ด้วยเพราะต้องใช้ในการเกาะด้านข้างของกระดองตัวเมียเพื่อการผสมพันธุ์ จุดที่สอง รูปทรงกระดอง เมื่อนำมาวางเปรียบเทียบกัน จะพบว่ากระดองของเต่าตัวเมียจะมีขนาดใหญ่และกว้างกว่าตัวผู้ เพราะต้องคอยรับการขึ้นขี่หลังของตัวผู้ระหว่างขั้นตอนการผสมพันธุ์ จุดสุดท้าย หางของเต่าตัวผู้จะยาวและเรียวกว่าเต่าตัวเมียมาก แยกเพศขณะยังเล็กๆก็ขอให้ท่านดูที่หางเป็นหลัก เพราะถ้านำมาเปรียบเทียบกัน จะพบว่าตัวผู้จะมีหางยาวกว่าตัวเมียเล็กน้อยเสริมเรื่องการแยกเพศขณะยังเล็ก ไม่แน่ใจข้อมูลเชื่อถือได้หรือเปล่าทางเจ้าของร้านบอกให้ดูบริเวณใต้ท้อง ตัวเมียจะมี ส่วนเว้าที่มากกว่า ให้เอานิ้วลูบดู*** จริง - เท็จ แค่ไหน แจ้งด้วยครับ ***โรคภัยไข้เจ็บและความผิดปกติต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยในเต่าแก้มแดงตาเจ็บและบวม จากภาวะขาดวิตามิน เอ พบได้บ่อย ๆ ในเต่าแก้มแดงอายุน้อยที่เราเพิ่งซื้อมาเลี้ยงได้ประมาณ ๓ – ๔ เดือน และให้กินแต่อาหารเม็ดเท่านั้น เต่าจะใช้วิตามินเอซึ่งสะสมอยู่ในตับจนหมด โดยเต่าจะซึมไม่ค่อยกินอาหาร จากนั้นตาก็จะเริ่มบวมปิด พบฝ้าขาวในช่องปาก ไม่ค่อยเคลื่อนไหวหรือว่ายน้ำ ท่านเจ้าของกรุณานำเจ้าเต่าน้อยไปพบสัตวแพทย์ เพื่อทำการฉีดวิตามินให้สัปดาห์ละครั้ง ติดต่อกันสัก ๒ -๓ สัปดาห์ก็จะดีขึ้น ส่วนการป้องกันทำได้โดยผสมวิตามิน เอ ชนิดแคปซูลลงไปในอาหารเม็ดสำหรับเต่าบ้าง หรือบางท่านก็ให้ตับต้มกับเต่าเป็นอาหารเสริมครับจุดหนองสีเหลืองกระจายตามตัว ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ภาวะนี้ก็เช่นเดียวกันที่พบในเต่าเล็ก ส่วนใหญ่พบหลังเพิ่งซื้อมาไม่เกินหนึ่งเดือน เต่าจะไม่กินอาหาร , นอนซึม ,ไม่ว่ายน้ำ , มีจุดหนองสีเหลืองกระจายตามตัวยกเว้นส่วนกระดอง ต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน เพราะมีหลายตัวที่มารักษาไม่ทันเสียชีวิตไปเสียก่อน สาเหตุเกิดจากการเลี้ยงเต่าที่แออัดเกินไป , น้ำที่ใช้เลี้ยงสกปรก รวมถึงการให้อาหารที่ไม่ถูกต้องด้วยครับเนื้อตัวบวมออกมาจากกระดอง เพราะได้รับโปรตีนมากเกินไป หลาย ๆ ท่านคงเคยพบภาวะนี้ แต่เรามักคิดว่าเต่าอ้วน ซึ่งความจริงแล้ว ไอ้ที่ป่อง ๆ ออกมานั้นมิใช่ไขมัน แต่เป็นของเหลวใส อันเนื่องมาจากภาวะท้องมานและไตวาย โดยปกติการให้อาหารจำพวกโปรตีนแก่เต่าเล็ก ๆ นั้นเป็นเรื่องดี แต่บางครั้งมันมากเกินไปจนทำให้ไตทำงานหนักเกินไปจนสูญเสียหน้าที่ได้ ซึ่งภาวะนี้เกิดขึ้นได้ง่ายแต่แก้ไขได้ยากครับ กระดองบิดผิดรูป มาจากการขาดแคลเซียมและแสงแดด ท่านทราบหรือไม่ว่าองค์ประกอบของการสร้างกระดองและโครงกระดูกของเต่านั้น ประกอบด้วย แคลเซี่ยมที่เพียงพอจากอาหาร , วิตามินดีที่เพียงพอและแสงแดดอย่างสม่ำเสมอ ถ้าองค์ประกอบดังกล่าวเหล่านี้ขาดหรือบกพร่องไป ก็จะส่งผลอย่างแน่นอน ดังเช่นหลายท่าน เลี้ยงเต่าแก้มแดงไว้ในห้องหรืออยู่แต่ภายในบ้าน และก็ให้อาหารเม็ดแต่อย่างดียว นำไปตากแดดบ้างบางครั้ง เต่าก็สามารถเติบโตได้ แต่รูปทรงกระดองก็จะไม่สวยงามตามสายพันธุ์ ส่วนใหญ่จะพบว่าขอบกระดองบิดขึ้นด้านบน , แขนขาโค้งงอ บางตัวถึงขั้นกระดองบิดจนกระดูกสันหลังบิดไปด้วย สองขาหลังจึงใช้ไม่ได้และเป็นอัมพาตในที่สุด ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกัน ด้วยการให้อาหารที่ถูกต้องและนำเต่ามาตากแดดอย่างสม่ำเสมอ โดยเราจะสังเกตว่า เต่าที่เลี้ยงในบ่อกลางแจ้งจะไม่พบปัญหานี้เลยครับ กัดทะเลาะกันเป็นแผลตามตัว อันนี้ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ส่งผลถึงขนาดของสถานที่เลี้ยงว่าไม่เพียงพอต่อจำนวนเต่าหรือคับแคบเกินไปนั่นเอง ส่วนแผลต่าง ๆ ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสัตวแพทย์นะครับบทความสุดท้ายจากคุณหมอ สุดท้ายขอให้ท่านโปรดจำไว้ว่า เต่าแก้มแดงนี้เป็นสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือไม่ใช่เต่าของไทยนั้นเอง เพราะฉะนั้น เมื่อท่าน ๆ ซื้อหามาเลี้ยงแล้ว ขอได้โปรดเลี้ยงเขาไปจวบจนสิ้นอายุขัย หรือจะเปลี่ยนเจ้าของก็ได้ แต่ต้องเป็นสัตว์เลี้ยงตลอดไป เพราะถ้าท่านนำเต่าแก้มแดงไปปล่อยตามแหล่งน้ำตามธรรมชาติของไทย จะทำให้เกิดการสูญเสียสมดุลย์ทางธรรมชาติอย่างมาก เพราะเต่าแก้มแดงเป็นเต่าที่ปรับตัวได้ดีมาก สามารถอยู่ได้ในแหล่งน้ำหลายพื้นที่ของประเทศไทย เพราะฉะนั้นจึงสามารถเบียดเบียนพื้นที่การหากินและวิถีชีวิตของเต่าพื้นเมืองของไทย ไม่ว่าจะเป็นเต่าบึงหัวเหลือง , เต่าบัวและเต่าหับ เป็นต้น ในระยะยาวอาจส่งผลให้เต่าพื้นเมืองของบ้านเราสูญพันธุ์ไปก็ได้ครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น